งานวิจัยการศึกษาการสกัดเคราตินจากขนไก่และผลการเติมสารนาโนเคลย์ที่มีต่อสมบัติการซึมผ่านของฟิล์มวัสดุเชิงประกอบเคราติน-เคลย์

           ขนไก่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศที่มีการค้าขายไก่เนื้อเป็นอย่างมากรวมไปถึงประเทศไทยด้วย เนื่องจากย่อยสลายได้ยากหากกำจัดก็จะเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงมีแนวคิดสกัดเอาเคราตินที่มีอยู่ในขนไก่โดยประมาณร้อยละ 91 [Fraser,1983] มาทำการขึ้นรูปเป็นพลาสติกชีวภาพ โดยเลือกใช้สารเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและหาสภาวะที่ให้ได้ปริมาณเคราตินสูงที่สุด โดยจากการวิจัยที่ผ่านมามีการสกัดขนไก่ด้วยสารเคมีที่เป็นพิษและกำจัดได้ยาก ได้เคราตินในปริมาณที่สูงอยุ่ที่ประมาณร้อยละ 70 โดยน้ำหนัก ส่วนงานวิจัยนี้ใช้วิธี Sulphitolysis สารเคมีที่ใช้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแต่จากงานวิจัยที่ผ่านมาได้เคราตินร้อยละ 30 โดยน้ำหนักเท่านั้น


                              

        

           ผลจากการวิจัยทำให้ได้สภาวะที่ให้ได้เคราตินถึงร้อยละ 86.85 โดยน้ำหนัก คือ ที่ pH 4.0 อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 5 ชั่วโมง ซึ่งเป็นปริมาณที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับผลการสกัดจากงานวิจัยที่ผ่านมา ส่วนการขึ้นเป็นฟิล์มวัสดุเชิงประกอบโดยการเติมสารเคลย์เพื่อเพิ่มสมบัติการซึมผ่าน โดยศึกษาเคลย์ชนิด Cloisite 30B และ Cloisite Na+ ที่ปริมาณต่างๆ เพื่อหาชิ้นงานที่มีการกระจายตัวดีที่สุดไปทดสอบการซึมผ่านคือ ชิ้นงานที่มีการเติมเคลย์ชนิด Cloisite 30B ปริมาณร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก มีการลดการซึมผ่านของน้ำไปร้อยละ 30 จากฟิล์มที่ไม่เติมเคลย์เลย

update 10/02/2557


งานวิจัยที่น่าสนใจ

♠ New polymer solar cell efficiency at HyNAE’s lab // 1/07/2556

 พอลิไวนิลคลอไรด์ดัดแปลงที่มีสมบัติทางไฟฟ้าด้านการรับและนำอิเล็กตรอน

♠ ฟิล์มวัสดุเชิงประกอบนาโนที่มีสมบัติด้านการเปลี่ยนสีและสะท้อนความร้อน//13/6/2556

♠ ผลของสารเติมแต่งประเภทบล็อคโคพอลิเมอร์ ที่มีต่อค่าประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์พอลิเมอร์

 การพัฒนาวัสดุห่อหุ้มเซลล์แสงอาทิตย์จากเอธิลีนไวนิลอะซิเทตโคพอลิเมอร์

 การพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์ทำจากพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ชนิดพอลิแลคติกแอซิด (PLA)

 การปรับปรุงสมบัติด้านความเหนียวและการทนทนความร้อนของแผ่นชีทพีวีซี (PVC) สำหรับใช้เป็นม่านคลุมโรงเรือนเลี้ยงไก่ 

♠ ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มอาหารที่พัฒนาจากวัสดุนาโนเชิงประกอบของพอลิเอธืลีน  

  การพัฒนาสูตรผสมอีพอกซีเพื่อการใช้งานด้านวัสดุปูพื้นและผิวเคลือบ

 การปรับปรุงความสามารถในการทนต่อการเสียรูปภายใต้อุณหภูมิสูง (HDT) ของพลาสติกชีวภาพด้วยการใช้เส้นใยธรรมชาติ



==============================
^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^